ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม

1. การป้องกันและการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย

2. การป้องกันการลักทรัพย์ในที่สาธารณะ

3. การป้องกันการปล้นทรัพย์ในสถานที่ประกอบการค้า

4. การป้องกันการปล้นชิงหรือวิ่งราวผู้เบิกเงิน

5. การป้องกันการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และทำร้ายร่างกายในอาคาร

6. การป้องกันการลอบวางระเบิด

7. การป้องกันการต้มตุ๋น

8. การป้องกันการหลอกลวงโดยการจัดหางาน

9. การป้องกันการล่อลวงหญิง

10. การป้องกันการจับเรียกค่าไถ่

11. การป้องกันการข่มขืนกระทำชำเรา

12. การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์

13. การป้องกันการชิงทรัพย์ในร้านเสริมสวย คลินิก

อาชญากรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้หากเราดำรงชีวิตอยู่บนความประมาทและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่าน การมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมเบื้องต้นจะเป็นกำแพงสำคัญที่กั้นท่านและบุคคลรอบข้างให้ห่างจากภัยอันตรายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะ “กันไว้ย่อมดีกว่าแก้” อย่างแน่นอน

1. การป้องกันและการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย

อยู่แต่ในบ้านใช่ว่าจะปลอดภัยเมื่อไหร่กัน ข่าวคราวขโมยขึ้นบ้านลักทรัพย์ยังดังระงมอย่างครึกโครม ฉะนั้นท่านควรจะดูแลที่พักอาศัยให้อยู่ในสภาพที่มิดชิดไม่เป็นสิ่งล่อใจให้คนร้ายกระทำการในบ้านท่านได้

* ตัวบ้าน การป้องกันที่ดีควรเริ่มจากการมีบ้านที่ปลอดภัย ด้วยการหมั่นตรวจตราอุปกรณ์ของบ้านอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยเสียจนคนร้ายสามารถงัดแงะเข้ามาได้ง่าย โปรดสละเวลาเพียงเล็กน้อยแล้วปฏิบัติตามดังนี้

- รั้วบ้านควรทำให้สูงและแข็งแรง

- สำหรับบ้านสองชั้นที่ต่อเนื่องกับครัวควรทำประตูให้แน่นหนา

- กลอนประตูก็ควรเลือกชนิดที่มั่นคงแข็งแรง หน้าต่างประตูทุกบานควรมีการติดลูกกรง

เหล็กเพราะจะทำให้คนร้ายงัดยากมากขึ้น

- ติดตั้งสวิตซ์ไฟทุกชนิดไว้ในบ้าน

- ควรเลี้ยงสุนัขไว้ส่งเสียงดังช่วยเตือนภัย หรือติดตั้งสัญญาณไซเรนคอยส่งสัญญาณให้

เพื่อนบ้านใกล้เคียงทราบเวลามีเหตุร้ายเกิดขึ้น

- ที่ว่างเปล่าที่ติดกับบ้าน ไม่ควรปล่อยให้มีต้นไม้ขึ้นสูงเพราะคนร้ายอาจใช้เป็นที่กำบัง

ตัวไว้

* สมาชิกของบ้าน มีเทคนิคง่าย ๆ สำหรับผู้อยู่อาศัยเพื่อกันภัยร้ายไม่ให้กรายใกล้

อยู่บ้านอย่างไรให้อุ่นใจ

- เมื่อเปิดประตูบ้านรับใครควรดูให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นคนแปลกหน้าหรือเปล่า

- เมื่อมีคนโทรศัพท์มาถามว่ามีใครอยู่บ้านหรือไม่อาจเป็นการหาโอกาสของคนร้าย

ให้ตอบว่าอยู่กันหลายคน

- ควรอธิบายแก่คนใช้หรือผู้อื่นให้ทราบถึงกลอุบายต่าง ๆ ที่คนร้ายมักใช้เพื่อป้องกัน

อย่าให้หลงเชื่อคนร้าย และเพิ่มความพร้อมในการป้องกันเหตุร้าย

สุขใจแม้อยู่ไกลบ้าน

- ก่อนออกจากบ้านควรปิดประตู หน้าต่าง ใส่กุญแจให้เรียบร้อย

- หยุดบอกรับหนังสือพิมพ์ขณะที่ไม่อยู่

กลางคืนยังหลับสบาย

- ตอนกลางคืน ควรรูดม่านปิดไม่ให้คนภายนอกมองเห็นด้านใน

- ถ้ามีคนอยู่บ้านก็ไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้ในบ้านเพราะคนร้ายจะมองเห็นทรัพย์สินภาย

ในได้ ควรเปิดไฟทิ้งไว้รอบนอกบ้านจะทำให้มองจากภายในเห็นข้างนอกได้ แต่ถ้า

ไม่มีใครอยู่ก็ควรเปิดไฟทิ้งไว้ในบางห้อง

ร่วมมือร่วมใจ กันภัยไกลห่าง

- ให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้านในการสอดส่องดูแลชุมชนที่ตนอยู่อาศัย

- ร่วมกันจัดระบบการป้องกันต่าง ๆ ในชุมชน เช่น จัดเวรยามหมู่บ้าน ติดสัญญาณ

ขอความช่วยเหลือเมื่อมีเหตุร้าย

เล็กน้อย แต่ห้ามลืม !!!

 - ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในบ้าน หรือถ้าจำเป็นก็ควรจดรายละเอียดของทรัพย์สิน

นั้นและถ่ายรูปเก็บไว้ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิมพ์แจกจ่าย

- ตรวจสอบบัตรประจำตัวของช่างซ่อมต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในบ้าน และอย่าปล่อยให้

ใครเข้ามาโดยไม่แน่ใจว่าคน ๆ นั้น เป็นบุคคลตามที่อ้างไว้ ตลอดจนพยายามจำ

ลักษณะของคนแปลกหน้าหรือทะเบียนรถที่ต้องสงสัยเข้ามาในละแวกบ้าน

- ควรมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรต่าง ๆ ของคนรับใช้ รวมทั้งรูปถ่าย

รายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็น หากต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อ

สอบประวัติก็ให้ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ในท้องที่

เพียงปฏิบัติตามข้อต่าง ๆ ดังข้างต้น ท่านก็สามารถป้องกันเหตุการณ์ร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากยังมีเหตุร้ายเกิดขึ้นแก่ตัวท่านจริง ๆ ก็อย่าคิดจับคนร้ายด้วยตนเองและพยายามป้องกันโดยบอกเหตุการณ์แก่เพื่อนบ้านให้คอยระวังอีกทั้งควรดูแลป้องกันสถานที่เกิดเหตุ อย่าให้บุคคลอื่นเข้าไปหากไม่ใช่ ตำรวจ

2. การป้องกันการลักทรัพย์ในที่สาธารณะ

บ่อยครั้งที่ท่านต้องออกไปทำธุระยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่คุ้นเคยหรือเป็นที่ที่คนพลุกพล่าน ยิ่งประเทศชาติกำลังประสบเหตุหายนะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ย่อมเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณมิจฉาชีพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านและทรัพย์สิน ควรปฏิบัติตนดังนี้

 เก็บเงินอย่างไรให้ปลอดภัย

 - อย่านำของมีค่าหรือทรัพย์สินจำนวนมากติดตัวออกนอกบ้าน

- เก็บกระเป๋าสตางค์ให้มิดชิดในที่ที่รู้สึกเมื่อหายไป

- กระเป๋าถือของสตรีก็ไม่ควรหิ้วหรือสะพายบ่าไว้ ควรใช้มือจับ

หน้าตาใส ๆ แต่ใจเป็นโจร

- พึงระลึกไว้เสมอว่าคนร้ายเป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่งกายได้ทุกรูปแบบ มักแต่งกายสุภาพเรียบร้อยและถือสิ่งของที่ใช้บังตาได้ดี

ระวัง !! ที่คนพลุกพล่าน

- เมื่อต้องไปในสถานที่ที่เบียดเสียดแน่นหนาควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

- ถูกชนหรือเบียดควรรีบสำรวจทรัพย์สินที่นำติดตัวไปด้วยทันที

- เมื่อรู้ตัวว่าถูกล้วงกระเป๋าควรส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือทันที

- รีบไปแจ้งตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุด

- เมื่อพบเห็นคนร้ายกำลังล้วงกระเป๋าบุคคลอื่นก็ควรช่วยกันจับกุมหรือแจ้งแก่เจ้า

หน้าที่ตำรวจ “สังคมจะสงบสุขได้ถ้าทุกคนมีน้ำใจต่อกัน”

3. การป้องกันการปล้นทรัพย์ในสถานที่ประกอบการค้า

มีร้านค้ามากมายที่คนร้ายหมายตาเข้าชิงทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านขายทองรูป-

พรรณหรือเครื่องประดับมีราคาทั้งหลาย ถึงอย่างไรร้านค้าประเภทอื่น ๆ ก็ประมาทไม่ได้ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้ * ตัวร้านค้า ควรติดกลอนประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศที่มีสภาพมั่นคงแข็งแรงโดยหมั่นตรวจตราทุกครั้ง และไม่ควรติดกลอนประตู หน้าต่างไว้ด้านนอกเพราะคนร้ายจะใช้เป็นห้องขังได้อย่างดี อีกทั้งควรติดสัญญาณเตือนภัยในหลาย ๆ แห่ง การจัดร้านค้าก็ควรให้สามารถมองเห็นได้จากภายนอก

* ผู้ประกอบการ ถ้าปฏิบัติตามเคล็ดลับดังนี้ รับรองว่าอยู่ร้านสบายหายห่วง

รายการทรัพย์สิน

- จดรายละเอียดเครื่องประดับสำหรับขายและถ่ายรูปเก็บไว้ทุกชิ้น

- ไม่ควรเก็บเงินสดหรือทรัพย์สินมีค่าจำนวนมากในร้านค้า

ขณะมีลูกค้าเข้าร้าน

- เมื่อมีลูกค้ามาขอดูก็ไม่ควรนำสินค้าหรือเครื่องประดับที่มีราคาแพงออกมาให้เลือก

หลาย ๆ แบบในคราวเดียวกัน

- เวลาจะไปหยิบสิ่งของที่ห้องเก็บของก็ไม่ควรปล่อยหน้าร้านทิ้งไว้โดยไม่มีคนดูแล

- อย่าปล่อยให้เด็กกับสตรีอยู่ดูแลร้านเพียงลำพัง

- ระมัดระวังคนแปลกหน้าที่มาเดินวนเวียน

- จดจำรูปพรรณของบุคคลที่เข้ามาในร้านค้า หากเป็นคนร้ายจะได้แจ้งรายละเอียด

ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้

การเปิด-ปิดร้าน

- ไม่ควรเปิดร้านแต่เช้าตรู่ และไม่ควรปิดร้านในเวลาค่ำหรือดึกเกินไป

- ขณะที่กำลังจะปิดร้าน หากมีคนแปลกหน้าเข้ามาติดต่อ ให้ใช้ความระมัดระวัง

เป็นพิเศษเพราะอาจเป็นคนร้ายได้ ถ้าเป็นไปได้ควรปฏิเสธในทุกเรื่องโดยอ้างว่า

ปิดร้านแล้ว

ร่วมด้วยช่วยกันสอดส่อง

- ผูกมิตรกับเพื่อนบ้านเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาซึ่งกันและกัน

- ควรจัดเวรยามดูแลทรัพย์สินในเวลากลางคืน

เมื่อเกิดเหตุร้าย !!

- เมื่อเกิดเหตุร้ายควรพยายามระงับสติอารมณ์แล้วจดจำลักษณะรูปพรรณคนร้าย

- อย่าพยายามจับคนร้ายโดยลำพังด้วยตนเอง เมื่อคนร้ายก่อเหตุให้รีบแจ้งเจ้าหน้า

ที่ตำรวจทราบโดยเร็ว

- พยายามรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้อย่าให้ใครเข้าไปเกี่ยวข้องจนกว่าตำรวจจะไปถึง

 

4. การป้องกันการปล้นชิงหรือวิ่งราวผู้เบิกเงิน

สำหรับลูกจ้างหรือพนักงานทั้งหลายที่มักจะต้องเข้าออกธนาคารเพื่อเบิกเงินจำนวนมากเป็นประจำในทุก ๆ สิ้นเดือน หรือเวลาใดก็ตาม ควรปฏิบัติตนดังนี้

การเบิก-ถอนเงิน

- การไปเบิกเงินจำนวนมากจากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ควรขอเจ้าหน้าที่ตำรวจไปคุ้มกัน

- ไม่ควรกระทำในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นประจำ

- เมื่อเบิกเงินมาได้แล้วควรนับเงินในที่ลับตา

- ไม่ควรใส่เงินไว้ในถุงของธนาคาร ควรแยกเก็บไว้หลาย ๆ แห่ง

คนแปลกหน้า

- ควรระมัดระวังบุคคลแปลกหน้าที่ติดตาม

- ถ้าพบพาหนะใดแล่นติดตามมาผิดสังเกตหรือสงสัยว่าอาจเป็นคนร้ายควรขับรถไป

หาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใกล้ที่สุด

- อย่าหยุดหรือจอดรถเพื่อนำเงินออกจากรถเด็ดขาด

- เมื่อเกิดเหตุร้ายไม่ควรตามจับคนร้ายด้วยตนเอง แต่ควรพยายามจดจำราย

ละเอียดเกี่ยวกับคนร้ายให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งรักษาสถานที่เกิดเหตุ ไม่ให้ใคร

เข้าไปเกี่ยวข้องจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปถึง

 

5. การป้องกันการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และทำร้ายร่างกายในอาคาร

ตามอาคารต่าง ๆ แม้จะมียามเฝ้ารักษาการณ์ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยสำหรับตัวท่าน เนื่องจากพื้นที่อาคารบางส่วนเข้าข่ายสนับสนุนให้คนร้ายก่อการได้โดยง่าย เช่น ในลิฟท์ ที่จอดรถเปลี่ยว หรือแม้แต่ในห้องพักตามโรงแรม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเบื้องต้น ควรปฏิบัติดังนี้

- หลีกเลี่ยงการใช้สถานที่ที่มีสภาพเปลี่ยว เหมาะสำหรับเปิดโอกาสให้คนร้ายชิงทรัพย์

ได้ หรือหากจำเป็นก็ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

- สำหรับสุภาพสตรีก็ควรหลีกเลี่ยงการเดินลำพังในที่เปลี่ยวมืดหรือลานจอดรถขนาด

ใหญ่ และถ้าจะใช้ลิฟท์ที่มีเพียงชายแปลกหน้าเท่านั้น ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์นั้น

- เวลามีคนกดกริ่งเรียกตามห้องพักในโรงแรม ควรดูให้แน่ชัดเสียก่อนเปิดประตูทางช่อง

ดูภายนอกซึ่งอยู่ที่ประตู และเวลาปิดประตูควรใส่กลอนประตูล็อกกุญแจ คล้องโซ่

ประตูด้วย

 

6. การป้องกันการลอบวางระเบิด

เหตุการณ์ที่ก่อความวุ่นวายไม่สงบในสังคมที่มักจะพบเห็นคือ การขู่ลอบวางระเบิดตามสถานที่สำคัญทางราชการ หรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านหรือบางทีอาจเป็นบ้านของท่านเองโดยที่สาเหตุนั้นอาจเกิดจากความขัดแย้งส่วนตัว ซึ่งเป็นเพียงการกลั่นแกล้งกันเท่านั้นเมื่อเกิดระเบิดย่อมมีความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ดังนั้นทางที่ดีควรมีการป้องกันไว้เสียแต่เนิ่น ๆ

- พาหนะที่จอดไว้ในบ้านหรือสำนักงานต้องล็อกประตูฝากระโปรงหลังและถังน้ำมัน

เพื่อป้องกันการลอดวางระเบิด

- พบบุคคลที่มีพิรุธ พยายามจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลนั้นแล้วรีบแจ้งเจ้าหน้า

ที่ตำรวจให้ทราบทันที

- พบวัตถุน่าสงสัยหรือผิดสังเกต อย่าแตะต้อง เปิดดู หรือทำให้กระทบกระเทือนด้วย

การยกหรือเขย่า ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที และอย่าทำให้คนอื่นรอบข้าง

เกิดความตื่นตกใจจนโกลาหล ควรให้ประชาชนออกจากพื้นที่โดยสงบ ถ้าเป็นไป

ได้ควรนำยางรถยนต์มาล้อมวัตถุที่ต้องสงสัยนั้น

- อย่าพยายามใช้เครื่องมือสื่อสารหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใกล้วัตถุต้องสงสัย

- เมื่อเกิดระเบิดขึ้น อย่างเข้าไปในที่เกิดเหตุ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจและ

ประชาชนควรให้ความร่วมมือโดยไม่เข้าไปมุงซึ่งทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ

ยากยิ่งขึ้น

7. การป้องกันการต้มตุ๋น

                การหลอกลวงต้มตุ๋นด้วยวิธีการต่าง ๆ มักพบเห็นอยู่เสมอในสังคม เพราะมิจฉาชีพจะพยายามใช้ทุกวิถีทาง เพื่อล่อให้ท่านหลงเชื่อจนเสียทรัพย์สินให้แก่คนเหล่านี้อย่างง่ายดาย หลักสำคัญ

    ของการป้องกันการต้มตุ๋นไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม คือ “อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้า” และ “อย่าโลภมากจนเกินไป” ซึ่งมิจฉาชีพมักจะใช้เงินทองจำนวนมากหลอกล่อเหยื่อเสมอ ดังนั้นท่านควรตระหนักให้ดีในข้อนี้พร้อมทั้งพยายามพิจารณาด้วยเหตุผลก่อนที่จะปักใจเชื่อกับสิ่งใด และทุกครั้งที่พบการกระทำเข้าข่ายหลอกลวงต้มตุ๋น ก็ควรจดจำรายละเอียดของมิจฉาชีพแล้วนำไปแจ้งต่อตำรวจทันที ทั้งนี้รูปแบบของการต้มตุ๋นสามารถสรุปได้ดังนี้

    ** โดยการเล่นไพ่ 3 ใบ วันหนึ่งถ้าเกิดจู่ ๆ มีคนมาชักชวนหรือท้าท่านให้เล่นการพนันด้วยการทายไพ่ 3 ใบ ที่คน ๆ นั้นมีว่าเขาจะทายถูกหรือไม่ ถ้าพบเห็นวิธีการในรูปแบบนี้ ก็ควรระมัดระวังคนแปลกหน้าที่จะเข้ามาตีสนิท อย่านึกคึกคะนองหรือประมาทหลงเชื่อเช่นพนันไปกับเขา และสำหรับตัวท่านเองก็ไม่ควรนำทรัพย์สินติดตัวไปเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญจงตระหนักไว้เสมอว่า

    “การพนันไม่เคยสร้างความร่ำรวยให้แก่ใครได้อย่างถาวร” พร้อมทั้งติดตามให้ความสนใจต่อพฤติกรรมของคนร้ายที่หลอกลวงในลักษณะนี้ เพื่อจะได้ระมัดระวัง

    ** โดยวิธีการเสนอขายของเก่า มิจฉาชีพจะพยายามโฆษณาว่าสินค้านั้นเป็นของโบราณมีค่า ดังนั้นท่านก็อย่าหลงเชื่อจนกว่าจะทดสอบของนั้นด้วยตัวเองว่ามีค่าจริง และควรตรวจสอบรุ่น ยี่ห้อ ให้แน่ชัด หากไม่มีความชำนาญในเรื่องของเก่า ก็อย่าซื้อสินค้าดังกล่าวโดยเด็ดขาด ควรปรึกษาหารือกับผู้รู้ให้ได้ตรวจสอบเสียก่อน

    ** โดยวิธีการหลอกขายที่ดิน ที่ดินถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามีราคา ใคร ๆ ก็อยากมีที่ดินไว้ในครอบครองของตน ยิ่งในช่วงระยะเวลา 4 – 5 ปีที่ผ่านมา มีการเก็งกำไร ปั่นที่ดินจนมีราคาสูงลิบลิ่ว การขายที่ดินเริ่มแพร่ระบาดทุกหย่อมหญ้าเครื่องมือหากินของเกษตรกรต่างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทุนแล้วแปรสภาพเป็นรีสอร์ทบ้าง เป็นคอนโดมิเนียมสุดหรู (แต่ไม่มีคนอยู่) บ้าง

    เมื่อประเทศเข้าสูสภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ยุคทองของการซื้อขายที่ดินกลายเป็นยุคมืด แต่ก็ใช่ว่าวิธีการหลอกขายที่ดินจะลบเลือนหายตามไปด้วย จึงควรปฏิบัติดังนี้หากมีบุคคลมาเสนอขายที่ดินกับท่าน

    - ควรไปดูที่ดินด้วยตนเอง ไม่ควรตกลงโดยทันที ควรตรวจสอบโฉนดกับสำนักงานที่

    ดินให้แน่นอนเสียก่อนจะทำการซื้อขาย และอย่าให้ใครยืมโฉนดโดยไม่จำเป็น

    - ก่อนจะทำสัญญาซื้อขายควรปรึกษากับผู้รู้เสียก่อน

    - การจ่ายเงินแต่ละครั้งควรกระทำต่อหน้าเจ้าพนักงานเสมอ และควรมีบุคคลที่เชื่อ

    ถือได้เป็นประกันจึงค่อยชำระเงิน

    ** โดยวิธีการทำของตก คนร้ายมักจะทำสิ่งของมีค่าตกไว้เพื่อล่อให้เหยื่อเก็บและเข้าติดกับที่วางไว้ ดังนั้นทางที่ดี ท่านไม่ควรหลงเชื่อคนง่าย ควรระมัดระวังคนแปลกหน้า และอย่าโลภมาก

    ** โดยวิธีการขอยืมเครื่องประดับตกแต่ง คนร้ายจะพยายามเข้ามาตีสนิทแล้วมักจะขอยืมสิ่งของมีค่ากับท่านโดยให้คำมั่นว่าจะนำมาคืน ท่านก็อย่าหลงเชื่อคนง่าย และทางที่ดีไม่ควรนำทรัพย์สินมีค่าติดตัวไว้เลยระหว่างการเดินทางควรเก็บไว้ให้มิดชิด อย่าให้เป็นที่ล่อตาล่อใจของผู้อื่น

    ** โดยหลอกล่อว่าญาติเจ็บป่วย เรื่องนี้ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะเชื่อคำ

    บอกเล่า

    นอกจากนี้ยังมีวิธีการต้มตุ๋นสารพัดที่จะทำให้ท่านหลงเชื่อจนต้องเสียทรัพย์สินมีค่าไป

    เพราะฉะนั้น อย่าหลงเชื่อใครง่าย ๆ เป็นอันขาดโดยปราศจากการไตร่ตรองแล้วด้วยเหตุและผล

     

    8. การป้องกันการหลอกลวงโดยการจัดหางาน

    ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่จะต้องพึ่งการส่งออกสินค้านำเงินตราเข้าสู่ประเทศ “การส่ง

    ออกแรงงาน” ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่หลายฝ่ายต่างเล็งเห็นว่าสามารถช่วยฉุดเศรษฐกิจไม่ให้ดิ่งลงเหวเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดหางานต่างประเทศให้กับคนไทยจึงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผ่านบริษัทนายหน้าหรือแม้แต่งานภายในประเทศก็เช่นกันที่มีบริษัทจัดหางานมากมายต่างเสนอช่องทางทำกินให้แก่ประชาชน หากประชาชนรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วย่อมตกเป็นเหยื่อของบริษัทเถื่อนที่คอยหลอกลวงได้ เพราะฉะนั้นควรปฏิบัติดังนี้

    - อย่าหลงเชื่อคนง่าย ควรตรวจสอบหรือสอบถามจากผู้รู้ที่สามารถให้คำปรึกษาใน

    เรื่องต่าง ๆ ได้

    - ไม่ควรจ่ายเงินแก่นายหน้าล่วงหน้า หากจำเป็นควรทำหนังสือสัญญาโดยทำต่อ

    เจ้าหน้าที่พนักงานหรือมีคนค้ำประกันเป็นหลักฐาน

    - เมื่อเกิดความสงสัยว่าอาจถูกหลอกควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที

    นอกจากนี้ท่านสามารถติดต่อกับกรมการจัดหางานซึ่งมีหน้าที่ในการจัดหางานให้กับประชาชนรวมทั้งให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ อย่างครอบคลุมและกว้างขวางที่สุด หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาท่านควรปรึกษากับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่จะคอยบริการท่านในเรื่องดังกล่าว

    ** สำนักงานจัดหางานในกรุงเทพฯ มีจำนวน 9 แห่ง ดังนี้

    1. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 1 วิภาวดีรังสิต รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตดินแดง

    ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี โทร. 617-6568

    2. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 2 จตุจักร รับผิดชอบเขตจตุจักร บางเขน ดอนเมือง

    โทร. 272-0980

    3. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 3 บางรัก รับผิดชอบเขตบางรัก ปทุมวัน สัมพันธวงศ์

    โทร. 233-3384-7

    4. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 4 ราชดำเนิน รับผิดชอบเขตพระนคร ดุสิต บางซื่อ

    ป้อมปราบ โทร. 280-0785

    5. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 5 ธนบุรี รับผิดชอบเขตธนบุรี คลองสาน

    บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย โทร. 437-5855

    6. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 6 ราษฎร์บูรณะ รับผิดชอบเขตบางขุนเทียน

    จอมทอง โทร. 427-4512

    7. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 7 พุทธมณฑล รับผิดชอบเขตหนองแขม ภาษีเจริญ

    ตลิ่งชัน บางพลัด โทร. 803-0400

    8. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 8 รามอินทรา รับผิดชอบเขตมีนบุรี หนองจอก

    ลาดกระบัง บึงกุ่ม ลาดพร้าว บางกะปิ โทร. 510-3602

    9. สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ 9 พระโขนง รับผิดชอบเขตพระโขนง คลองเตย

    สวนหลวง สาธร ประเวศ ยานนาวา บางคอแหลม โทร. 332-9105

     

    ** เอกสารที่ต้องนำไปติดต่อกับกรรมการจัดหางาน

    * สำหรับนายจ้าง

    - ทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนการค้า (กรณีเป็นนิติบุคคล) หรือสำเนาทะเบียน

    บ้าน ( กรณีเป็นบุคคลธรรมดา )

    - หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท

    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ/ผู้รับมอบอำนาจ

    * สำหรับผู้หางาน

    - บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา

                        - สำเนาทะเบียนบ้าน

                        - สำเนาหลักฐานการศึกษา

    - รูปถ่าย

    - อื่น ๆ เช่น หลักฐานการพ้นภาระทางทหาร ใบรับรองการผ่านงาน

     

    9. การป้องกันการล่อลวงหญิง

    หญิงทั้งหลายพึงระวังอาชญากรรมใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นควรปฏิบัติตนดังนี้

    - ไม่ควรเดินทางไปไหนเพียงลำพังและในเวลากลางคืน

    - อย่าเชื่อคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และอย่าหลงเชื่อเพราะเห็นแก่หน้าที่

    การงานหรือรายได้

    - ไม่ควรไปไหนมาไหนกับชายแปลกหน้า และอย่าคิดว่าผู้ที่แต่งตัวสุภาพ ดูมีฐานะ

    จะไม่ใช่คนร้าย

    - อย่าดื่มสุราหรือของมึนเมาทุกชนิด

    - การไปรอรถโดยสาร ไม่ควรพูดคุยกับคนแปลกหน้า

    - ควรอบรมลูกหลานหรือญาติพี่น้องให้รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคนร้าย พร้อมทั้งช่วย

    สอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่

     

    10. การป้องกันการจับเรียกค่าไถ่

    มักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่เป็นบุตรหลานของท่าน ดังนั้นควรปฏิบัติดังนี้

    - อย่าปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง พร้อมทั้งอบรมลูกหลานอย่าให้เชื่อคนแปลกหน้า

    และอย่าไปไหนกับคนแปลกหน้าโดยเด็ดขาด ถึงแม้จะอ้างว่าพ่อแม่ให้มารับก็ตาม

    - อบรมเด็กอย่าให้รับของหรืออาหารและเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้า

    - การับคนเลี้ยงดูเด็ก ควรทำประวัติ ถ่ายรูปเก็บไว้ และควรเป็นบุคคลที่รู้จักคุ้นเคย

    กันมาก่อนจนไว้วางใจได้

    - เมื่อมีเหตุสงสัยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเร็วที่สุด และพยายามจดจำราย

    ละเอียดของคนร้าย ยานพาหนะ อาวุธ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

    ของเจ้าหน้าที่

     

    11. การป้องกันการข่มขืนกระทำชำเรา

    เรื่องนี้ถือเป็นภัยมืดต่อผู้หญิงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาใครเลยจะรู้ว่าบนถนนที่ทอดยาวนั้นจะแฝงภัยร้ายอันน่าสะพรึงกลัวเพียงใด สตรีเพศทั้งหลายจึงควรระลึกไว้เสมอว่า

    - ไม่ควรเดินทางคนเดียวโดยลำพังตามตรอกซอกซอยที่เปลี่ยวมืด ควรหาเพื่อนร่วม

    เดินทางไปด้วย

    - อย่างแต่งตัวโป๊หรือโชว์สัดส่วนมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการข่มขืนกระทำ

    ชำเราหรืออนาจารขึ้นได้

    - ไม่ควรขึ้นรถยนต์หรือจักรยานยนต์เมื่อมีคนแปลกหน้าชวนให้ขึ้น

    - เมื่อมีคนมาตีสนิททำนองเคยรู้จักกันมาก่อนทั้ง ๆ ที่ท่านไม่เคยรู้จัก ก็ควรหลีกเลี่ยง

    บุคคลเช่นนี้ ถ้าเป็นไปได้ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง

    - พยายามหลีกเลี่ยงงานสังสรรค์กลางคืนต่าง ๆ นอกจากจะมีคนสนิทหรือญาติคอย

    รับส่ง

    - เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้านในตอนกลางคืน ควรบอกให้ทางบ้านทราบว่า

    จะไปไหน ไปพบใคร อย่างไร และกลับเมื่อไร และควรพกบัตรประจำตัวประชาชน

    ทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน

     

    12. การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์

    รถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง จึงเป็นที่หมายปองของคนร้าย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้เป็นอย่างดี จึงแนะนำวิธีการป้องกันรถยนต์ และรถจักรยานยนต์จากการถูกโจรกรรม ดังนี้

    - เมื่อซื้อรถใหม่ รถใหม่เป็นรถที่คนร้ายสามารถนำไปขายได้ง่ายและมีราคาสูง เพื่อความปลอดภัยท่านควรจอดรถในสถานที่ที่มีคนดูแลและติดตั้งอุปกรณ์กันขโมย

    - เมื่อต้องการซื้อรถมือสอง ก่อนจะตกลงซื้อควรขอหมายเลขเครื่อง หมายเลขตัวถัง และหมายเลขทะเบียนรถมาตรวจสอบกับหน่วยทะเบียนยานพาหนะที่รถคันนั้นมีทะเบียนอยู่ และควรเปลี่ยนกุญแจประตู กุญแจเครื่องยนต์ใหม่ เพราะกุญแจเดิมอาจอยู่ในมือคนร้ายจะโดยวิธีใดก็ตาม และตรวจสอบความถูกต้องของสมุดคู่มือจดทะเบียนรถด้วย

    - การนำรถไปจอดในสถานที่ต่าง ๆ ท่านควรจอดรถไว้ไม่ให้อยู่ห่างสายตาและควรมีคนเฝ้าดูแล ทุกครั้งที่จะจอดรถต้องล็อกประตู ปิดกระจกให้เรียบร้อย เปิดสวิตซ์ป้องกันขโมยไว้ทุกครั้ง ไม่ควรจอดรถในที่ลับตาคนหรือค้างคืน

    สำหรับการจอดรถในบ้านหรือใกล้บ้าน ควรจอดรถในบริเวณที่มีแสงสว่างเห็นได้ชัด ถ้าเป็นนอกบ้านควรทำรั้วรอบของชิดหรือทำโรงไว้เก็บรักษารถ และสำหรับการนำรถไปจอดเพื่อล้างอัดฉีดทุกครั้งก็ควรดูแลด้วยตนเอง หรือไม่ก็ควรนำรถไปล้างอัดฉีดที่สถานบริการที่ท่านคุ้นเคยและไว้วางใจได้

    - การนำรถไปซ่อมแซมแก้ไข เนื่องจากช่างซ่อมเครื่องยนต์ เคาะ พ่นสี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถชำนาญในกลไกของรถเป็นอย่างดี และอาจเป็นหนึ่งในแก๊งของคนร้ายได้ ฉะนั้นการจะนำรถไปซ่อมควรเป็นสถานบริการที่ท่านมีความสนิทสนมคุ้นเคยและไว้วางใจได้ หรือคอยควบคุมการซ่อมโดยตลอด

    - การใช้กุญแจ รถบางชนิดใช้กุญแจรถชนิดเดียวกันกับเปิดประตูเครื่องยนต์ เปิดลิ้นชักและฝาน้ำมัน ฉะนั้นเมื่อฝาน้ำมันหยายอาจเป็นไปได้ว่าคนร้ายได้นำไปเพื่อทำแบบสร้างกุญแจปลอมสำหรับนำมาใช้โจรกรรมรถของท่าน ดังนั้นท่านควรรีบเปลี่ยนกุญแจเสียใหม่ โดยใช้กุญแจที่ใช้ได้เฉพาะแห่งเท่านั้น และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

    - ความระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์ ป้องกันการโจรกรรม ควรเก็บความลับเกี่ยวกับกลไกต่าง ๆ และกระทำอย่างมิดชิดลับตาผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อจอดรถแล้ว เวลาจะใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจมีคนร้ายคอยสังเกตสถานที่ตั้ง รูปแบบและวิธีการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว

    - ตำหนิรูปพรรณยานพาหนะ ท่านควรทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรถโดยละเอียด เช่น หมายเลขประจำตัวถังรถ หมายเลขประจำเครื่องยนต์ เลขทะเบียนและลักษณะพิเศษอื่น ๆ หรือหากรถท่านไม่มีลักษณะพิเศษก็ควรทำขึ้นมาโดยที่ไม่มีผู้ใดรู้นอกจากตัวท่านเอง และต้องเป็นลักษณะพิเศษที่สังเกตได้ง่าย โดยจดรายละเอียดหรือถ่ายภาพไว้

    - การถูกติดตามขณะขับรถ เมื่อสังเกตว่ามีผู้ขับรถติดตามมา พึงสังวรไว้ว่าผู้ที่ติดตามอาจกำลังหาช่องทางโจรกรรมรถของท่าน ควรแจ้งตำรวจที่อยู่บริเวณใกล้เคียงให้ทราบ และไม่ควรรับคนแปลกหน้าขึ้นรถในที่เปลี่ยว

     

    13. การป้องกันการชิงทรัพย์ในร้านเสริมสวย คลินิก

    1. จัดให้มีพนักงานคอยปิดเปิดประตูทางเข้าด้านหน้า รอรับลูกค้าและคอยสังเกตการณ์ หากพบพิรุธจากผู้มาติดต่อคนใดซึ่งสงสัยว่าจะเป็นคนร้ายจะได้รีบแจ้งตำรวจหรือจดจำตำหนิรูปพรรณไว้สกัดจับติดตามตัวต่อไปได้

    2. แนะนำลูกค้าผู้มารับบริการ ไม่ควรสวมใส่ทรัพย์สิ่งของมีค่าติดตัวมาด้วย

    3. กรณีใกล้เวลาจะปิดการให้บริการ หรือเหลือลูกค้าอยู่จำนวนน้อย ควรจะปิดประตูด้านหน้า จะเปิดรับต่อเมื่อตรวจสอบแน่ใจแล้ว เพราะคนร้ายมักฉวยโอกาสช่วงนี้กระทำการ

    4. ติดตั้งกริ่งหรือไซเรนสัญญาณเตือนภัยไว้ที่ด้านหน้าร้าน โดยซุกซ่อนสวิตซ์เปิดปิดเอาไว้อย่างน้อย 2 จุด หากเกิดเหตุร้ายจะได้กดสวิตซ์แจ้งเหตุให้บุคคลภายนอกได้ทราบเพื่อช่วยกันสกัดติดตามและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที