การติดต่อเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรม

** ประเภทของคดีอาญา

** ผู้มีอำนาจร้องทุกข์

** ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

** สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา

** สิทธิในการยื่นคำร้องขอประกันตัว

** หลักประกัน

                คำว่า “เจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรม” หมายถึง เจ้าหน้าที่ทุกระดับทุกส่วน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม  คือ  พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล ทนายความ ราชทัณฑ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เข้าข่ายคดีอาญาซึ่งจะต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข     ของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่เหล่านี้จึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รู้จักแต่หน้าตากันอย่างเดียวคงไม่พอ จะต้องรู้ถึงขอบเขตความรับผิดชอบของคนเหล่านี้ด้วย

พนักงานสอบสวน คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาค้นหาหลักฐาน สอบสวน และสรุปสำนวนว่าจะสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่ แล้วจึงส่งเรื่องไปยังอัยการ

อัยการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทนายแผ่นดิน มีหน้าที่ในการตัดสินว่าจะสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลหรือไม่หลังจากที่ได้รับสรุปสำนวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว

ศาล คือ ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินคดีความต่าง ๆ ตามกฎหมาย

ทนายความ คือ ตัวแทนที่ฝ่ายโจทก์ (ผู้ได้รับความเสียหาย) และจำเลย (ผู้ต้องหา)

ตั้งขึ้นมาเป็นตัวแทนในการว่าความหรือแก้ต่างในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ศาลนำไปพิจารณาตัดสิน บุคคลดังกล่าวจะต้องมีใบอนุญาตจากสภาทนายความให้ประกอบอาชีพทนายความได้ และเราไม่จำเป็นต้องตั้งทนายความก็ได้ หากมั่นใจว่าเราสามารถว่าความด้วยตัวเองในคดีได้

ราชทัณฑ์ มีหน้าที่คุมตัวผู้ต้องหาหลังจากที่ตัดสินจำคุกแล้ว เรียกง่าย ๆ ก็คือ ผู้คุม จะคอยดูแลการเยี่ยมนักโทษ ดูแลความเป็นอยู่ของนักโทษในห้องขัง

ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม บทเรียนแรกที่ท่านต้องศึกษาเป็นพื้นฐาน คือ “คดีอาญา”

** ประเภทของคดีอาญา

1. คดีอาญาแผ่นดิน เป็นคดีอาญาที่คู่ความตกลงยอมความกันไม่ได้ ถือเป็นการกระทำผิดทางอาญาที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ทั่วไป ความผิดที่รัฐเข้าไปควยคุมการดำเนินการในกิจการที่สำคัญหรือร้ายแรง ได้แก่ การค้ายาเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า การพนันเถื่อน หวยเถื่อน คอร์รัปชั่น ซึ่งความผิดทางอาญาแผ่นดินส่วนมากจะเกิดความเสียหายแก่ทั้งรัฐและประชาชนด้วย

2. คดีอาญาที่ยอมความกันได้ คือ การกระทำผิดอาญาที่ไม่ก่อผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั่วไป แต่เป็นความผิดส่วนตัวที่มีผลต่อผู้ถูกกระทำโดยเฉพาะ ซึ่งเท่าที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญาว่ายอมความกันได้ ก็มีหลายประการ ดังนี้

  1. การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้การลอกเลียนป้ายจนทำให้คนหลงเชื่อ การปล่อยข่าวลือเพื่อให้เกิดประโยชน์กับการค้าของตน
  2. ความผิดฐานหมิ่นประมาท
  3. ความผิดฐานเปิดเผยความลับ
  4. ความผิดหมวดฉ้อโกงทุกมาตรา (ยกเว้นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน)
  5. ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
  6. ความผิดฐานยักยอก
  7. ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์(ยกเว้นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และฐานทำให้พระพุทธรูปหรือวัตถุทางพุทธศาสนาเสียหาย)
  8. ความผิดฐานบุกรุก (ยกเว้นการบุกรุกโดยใช้กำลังทำร้ายหรือขู่ว่าจะทำร้ายโดยใช้อาวุธหรือร่วมมือกันสองคนขึ้นไป หรือบุกรุกในเวลากลางคืนซึ่งเป็นความผิดยอมความกันไม่ได้
  9. ความผิดต่อเสรีภาพฐานข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพทางกาย
  10. ความผิดเกี่ยวกับเพศฐานข่มขืนกระทำชำเราหญิงที่ไม่ใช่ภรรยาตน หรือกระทำอนาจารแก่บุคคลโดยขู่เข็ญหรือใช้กำลังทำร้ายซึ่งหญิงนั้น ไม่สามารถขัดขืนได้และยังรวมถึงความผิดฐานพาหญิงเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง และความผิดฐานซ่อนเร้นหญิงที่ถูกพาไปเพื่อการอนาจาร
  11. ความผิดตามกฎหมายอื่นที่ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความ ได้  เช่นความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์

            ความผิดอันยอมความได้นั้น ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีด้วยความเองภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด ถ้าไม่ทำภายในกำหนดอายุความ จะทำให้คดีขาดอายุความ และจะฟ้องร้องอีกไม่ได้

** ผู้มีอำนาจร้องทุกข์

ผู้ได้รับความเสียหาย หรือ ผู้มีอำนาจจัดการแทน คือ

** ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

1. ชั้นพนักงานสอบสวน

 ก. เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นพนักงานสอบสวนดำเนินการรับแจ้งเหตุและสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เป็นสำนวนคดี ตามกฎหมายได้ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนี้

อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน

- ในความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ พนักงานสอบสวนจะควบคุมผู้ต้องหาได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การและที่จะรู้ว่าเขาเป็นใคร อยู่ที่ไหน เท่านั้น

- ห้ามควบคุมตัวผู้ต้องหาเกินกว่า 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่ถูกจับมาถึงที่ทำการของตำรวจ เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็นก็สามารถยืดเวลาได้แต่ไม่เกิน 3 วัน

- ถ้าหากมีความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ต้องหาเกิน 3 วัน ต้องส่งให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดย

  1. ถ้าเป็นคดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท
  2. หากเป็นความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 10 ปี หรือปรับเกินกว่า 500 บาท ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หลายครั้งติดต่อกัน ครั้งละไม่เกิน 12 วัน รวมกันแล้วไม่เกิน 48 วัน
  3. หากเป็นความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หลายครั้งติดต่อกัน แต่ครั้งหนึ่งไม่เกิน 12 วัน รวมแล้วไม่เกิน 84 วัน

ข. เมื่อพนักงานสอบสวนรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้วก็จะสรุปสำนวนการสอบสวน

มีความเห็นคดีได้ 3 ทาง ดังนี้

            สำหรับคดีอาญาที่สามารถเลิกกันได้ในชั้นพนักงานสอบสวน คือ คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เช่น คดีฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ และคดีที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบปรับ และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามกำหนดแล้ว

2. ชั้นพนักงานอัยการ

เมื่อเรื่องส่งมาถึงชั้นพนักงานอัยการพนักงานอัยการจะพิจารณาและมีความเห็นคดีไว้ใน 3 ทาง ดังนี้

3. ชั้นศาล

ก.ศาลอาญา จะพิพากษาคดีโดยแยกเป็น 2 กรณี คือ

ข. ศาลอุทธรณ์ จะพิพากษาคดีซึ่งแยกได้ 2 กรณี

ค.ศาลฎีกา คำพิพากษาของศาลฎีกาถือเป็นที่สิ้นสุดของกระบวนการยุติธรรม

จะต้องมีการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น ๆ เว้นแต่จะมีพระบรมราชโองการลดโทษให้

4. ชั้นราชทัณฑ์

เมื่อศาลฎีกาพิพากษาคดีจนถึงที่สุดแล้ว จำเลยจะถูกส่งตัวมาอยู่ในความรับผิดชอบในชั้นนี้ โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ สามารถ

 

 ** สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา

        1. ตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้  โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานเบื้องต้น หากเห็นว่ามีมูลจะประทับรับฟ้องและพิจารณาดำเนินคดีกับผู้ต้องหาต่อไปถ้าไม่มีมูลก็จะไม่รับฟ้อง

        2. พบและปรึกษาทนายสองต่อสอง ในการขอพบทนาย จะต้องร้องขอต่อนายตำรวจเวรประจำการสถานีตำรวจนั้น ๆ โดยเขียนคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรหรือจะใช้คำพูดก็ได้ แต่ต้องระบุชื่อทนายความด้วย และสำหรับผู้ต้องหาที่ไม่มีเงินจะจ้างทนายความได้ ศาลจะจัดทนายความบริการว่าความให้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

        3. มีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้

        4. ได้รับการเยี่ยมตามสมควร คือ ในเวลาปกติตามที่ทางราชการกำหนด และเวลาอื่น ซึ่งต้องขออนุญาตจากนายตำรวจเวรประจำการผู้รับผิดชอบก่อน

        5. ได้รับรักษาโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย ถ้าเจ็บป่วยก่อนถูกควบคุม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำผู้ต้องหาที่เจ็บป่วยไปโรงพยาบาลของทางราชการเพื่อรับการรักษา แต่ถ้าเจ็บป่วยในระหว่างถูกควบคุมตัว ร้อยเวรประจำการจะเป็นผู้รายงานต่อสารวัตรหัวหน้าสถานีเพื่อพิจารณาอนุญาตนำตัวส่งโรงพยาบาล

  ** สิทธิในการยื่นคำร้องขอประกันตัว

        คือ การอนุญาตให้ผู้ต้องหาเป็นอิสระ พ้นจากการถูกควบคุมของเจ้าหน้าที่ในระยะเวลาหนึ่งที่มีกำหนด โดยผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคือตัวผู้ต้องหาเองหรือผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง อาจเป็นพ่อแม่ญาติพี่น้องก็ได้ ผู้ขอประกันต้องเป็นผู้มีความสามารทำนิติกรรมได้ โดยดำเนินการ ดังนี้

    1. เขียนคำร้องขอประกันต่อพนักงานสอบสวน
    2. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้ว ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่งต้องลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย
    3. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง

หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ประกันตัวผู้ต้องหา

    1. ความหนักเบาของข้อหา
    2. พยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด
    3. พฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีเป็นอย่างไร
    4. ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
    5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
    6. ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราวมีหรือไม่เพียงใด

** หลักประกัน

    1. เงินสด
    2. หลักทรัพย์อื่น ๆ เช่น โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก) ซึ่งพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาไว้แล้ว พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสินและสมุดเงินฝากออมสินประเภทประจำใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร ตั๋วแลกเงิน เช็ค หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน
    3. บุคคลเป็นประกัน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติมี นโยบายอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในเรื่องการใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 110 และมาตรา 114 วรรคสอง ดังนี้

 

บุคคล

วงเงินประกัน

- ข้าราชการพลเรือน ระดับ 3 - 5 หรือ

ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

60,000 บาท

- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้ง

แต่ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี หรือ

ร้อยตำรวจตรี ถึงพันตรี นาวาตรี นาวา

อากาศตรี หรือ พันตำรวจตรี

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

60,000 บาท

- ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือ

เทียบเท่าขึ้นไป

- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกับ

ข้าราชการประจำ

- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

- สมาชิกสภาจังหวัด

- สมาชิกสภาเทศบาล

 

 

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

60,000 บาท

- สมาชิกสภาเมืองพัทยา

- สมาชิกสภาเขตกรุงเทพฯ

- กรรมการสุขาภิบาล

- กำนัน

- ผู้ใหญ่บ้าน

 

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

60,000 บาท

 

 

 

 

บุคคล

วงเงินประกัน

- ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ถึง 8 หรือ

ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า

- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้ง

แต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือ

พันตำรวจโท นาวาเอก นาวาอากาศ

เอก หรือพันตำรวจเอก

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

200,000 บาท

- ข้าราชการตุลาการ หรืออัยการตั้งแต่

ชั้น 1 ถึง 2

- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกัน

กับข้าราชการประจำ

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

200,000 บาท

- ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ถึง 10 หรือ

ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า

- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้ง

แต่ พันเอก นาวาเอก หรือพันตำรวจ

เอกที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก

(พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หรือ

ตำรวจเอก (พิเศษ) ถึง พลตรี พลเรือตรี

พลอากาศตรี หรือพลตำรวจตรี

 

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

500,000 บาท

- ข้าราชการตุลาการ หรืออัยการตั้งแต่

ชั้น 3 ถึง 4

- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกัน

กับข้าราชการประจำ

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

500,000 บาท

- ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือ

ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า

- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้ง

แต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือ

พลตำรวจโท

- ข้าราชการตุลาการ หรืออัยการตั้งแต่

ชั้น 5 ขึ้นไป

 

 

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

1,000,000 บาท

บุคคล

วงเงินประกัน

- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกัน

กับข้าราชการประจำ

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

1,000,000 บาท

- สมาชิกรัฐสภาข้าราชการการเมือง

หรือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

- ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน

1,000,000 บาท

 

** สิ่งที่ห้ามลืมสำหรับผู้ประกัน